บทความ

โรคไต กับ ตัวต่อต่อย

บทความ โรคไต กับ ตัวต่อต่อย
โดย พญ. สุนันทา วิจิตรจิตเลิศ
อายุรแพทย์โรคไต
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

ผึ้งต่อย ต่อต่อย

        ผึ้ง ต่อ เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกัน ที่มีพิษแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด มีเหล็กในที่ส่วนปลาย ของลำตัว ใช้ต่อยเหยื่อแล้วปล่อยพิษออกมาทำร้ายเหยื่อ ต่อจะมีพิษสงร้ายกว่าผึ้งตรงที่ต่อตัวหนึ่งสามารถต่อยเหยื่อได้หลายครั้ง ขณะที่ ผึ้งจะต่อยเหยื่อได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในฝังไว้บนตัวเหยื่อ

ควรรีบไปพบแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. อาการปวด บวม แดง คัน ไม่ยุบภายใน 6 ชั่วโมง
2. แผลบวมขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอาการปวดมาก
3. เป็นลมพิษทั่วตัว หรือริมฝีปากบวม หนังตาบวม
4. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน หรือเจ็บแน่นหน้าอก
5. หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังวี้ด หรือมีอาการเป็นลม
6. ถูกต่อยที่ลิ้น หรือภายในช่องปาก หรือที่ตา
7. ถูกผึ้ง หรือ ต่อรุมต่อยจำนวนมาก
8. เคยมีประวัติถูกผึ้ง หรือ ต่อต่อยมาก่อน เคยมีอาการแพ้แมลงพวกนี้มาก่อน หรือ เป็นคนที่แพ้อะไรง่าย
9. มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ปวดข้อ ตามัว ซีด จ้ำเขียวตามตัว เป็นต้นเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังถูกต่อย

การรักษา

          ผู้ป่วยโรคไตที่ถูกผึ้ง หรือ ต่อต่อยจำนวนมาก จำเป็นต้องรับ ตัวผู้ป่วยไว้เฝ้าดูอาการ และให้การรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 48 ชั่วโมง แพทย์จะทำการตรวจเลือด และปัสสาวะเพื่อดูภาวะพิษอื่น ๆ (เช่น ไตวาย) และให้การรักษาตามอาการที่พบ เช่น ให้น้ำเกลือ และให้ยารักษาภาวะช็อก ทำการฟอกล้างของเสีย (ฟอกไต) ในรายที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น
 

ภาวะแทรกซ้อน

          พิษผึ้ง และ ตัวต่อ   อาจทำให้เกิดพิษต่ออวัยวะทั่วร่างกายที่สำคัญคือ ภาวะช็อก และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

เรียบเรียงโดย
พญ. สุนันทา วิจิตรจิตเลิศ
อายุรแพทย์โรคไต
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

โรคไต กับการ วิ่งมาราธอน

โรคไต กับ อาหารเค็ม

ไตกับปริมาณน้ำ