FAQ
คำถามเกี่ยวกับการใช้บริการ
- โรงพยาบาลร่วมกับกรมบัญชีกลาง
- สิทธิรัฐวิสาหกิจ กรุณาแจ้งสิทธิก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง
- ประกันสังคม ใช้ได้ในกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกเลือด
ทางโรงพยาบาลพร้อมให้บริการ ยกเว้น การผ่าตัดสมอง ด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญและทีมพยาบาลที่ได้รับการอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เลขที่ 8/99 ถ. พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและความคล่องตัว ในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล และสามารถเบิกสิทธิกรมบัญชีกลางและรัฐวิสาหกิจได้
- ท่านสามารถติดต่อเราได้ที่
- Contact center 02-765-3000
- เว็บไซต์ brkidney.org
- เฟซบุ๊ค facebook.com/Bhumirajnakarin
แผนก | เวลาให้บริการ | ชั้น | หมายเลขติดต่อ |
แผนกไตเทียม | 06:00 – 16:00 หยุดทุกวันอาทิตย์ | ชั้น 2 | 02-765-3000-3380 |
หอผู้ป่วยชั้น 5 | 24 ชั่วโมง | ชั้น 5 | 02-765-3000-5501 |
หอผู้ป่วยชั้น 6 | 24 ชั่วโมง | ชั้น 6 | 02-765-3000-6601 |
การเงิน | 07:00-16:00 | ชั้น 1 | 02-765-3000-3025 |
ผู้ป่วยนอก (OPD) | 07:00 – 16:00 | ชั้น 1 | 02-765-3000-3156 |
ฉุกเฉิน (ER) | 24 ชั่วโมง | ชั้น 1 | 02-765-3000-3055 |
เคาน์เตอร์รับยา | 07:00 – 16:00 | ชั้น 1 | 02-765-3000-3039 |
แผนกลูกค้าสัมพันธ์ | 24 ชั่วโมง | ชั้น 1 | 02-765-3000 |
แผนกต้อนรับและลงทะเบียน | 24 ชั่วโมง | ชั้น 1 | 02-765-3000 |
ห้องพักสำหรับผู้ป่วยมี 3 แบบ
- Standard
- Duluxe
- Suite
ท่านสามารถทำได้ 2 วิธี
- ติดต่อที่แผนกต้อนรับเคาน์เตอร์เวชระเบียน โถงบริการใกล้แผนกการเงินชั้น 1 พร้อมนำบัตรประชาชนหรือหนังสือมอบอำนาจมาแสดง
- ส่งรายละเอียดพร้อมหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย แล้วแจ้งรายละเอียดการรักษาในช่วงเวลาใด (กรณีขอแทนผู้ป่วยให้แนบสำเนาบัตรประชาชนผู้ขอ และผู้ป่วย พร้อมหนังสือมอบอำนาจมาด้วย) โดยโรงพยาบาลใช้เวลาในการออกเอกสาร 07.00-15.00 น. วันทำการ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-7653000
สามารถติดต่อเพื่อลงทะเบียนเข้ารับบริการได้ที่แผนกลงทะเบียน (Registration) /แผนกลูกค้าสัมพันธ์ ชั้น1 โดยนำบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับบริการมาในวันดังกล่าวด้วย
ค่ารักษาพยาบาลอาจไม่เท่ากันในแต่ละโรคหรือแต่ละบุคคล เนื่องด้วยความแตกต่างในการตอบสนองต่อการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ ณ จุดนั้น เพื่อประเมินราคาและพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่าย
คำถามเกี่ยวกับโรคไต
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือการที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในเวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ โดยเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้
- ภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่น ๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ซึ่งภาวะนี้อาจกินเวลานานนับปีโดยไม่มีอาการ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็นเลยโดยผู้ป่วยจะมีความเป็นอยู่ ดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติทุกอย่างเป็นเวลาหลายๆ ปี ระหว่างนี้ถ้าผู้ป่วยมาตรวจร่างกาย แพทย์ก็อาจจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ ยกเว้นถ้าตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย จนในที่สุดการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือหนึ่งในสี่ของปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบโรคเมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงไปมากและนำไปสู่ภาวะไตวาย ที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้อีกต่อไป
เมื่อเกิดภาวะไตวาย ของเสียและน้ำจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง มีภาวะซีด เลือดจาง และอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้
- ตรวจหาโปรตีนและเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ โดยปกติโปรตีนและเม็ดเลือดแดงจะไม่ผ่านการ กรองออกมาในปัสสาวะ ในภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาจพบโปรตีนและเม็ดเลือดแดงรั่วออกมากับปัสสาวะ ได้
- ตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นค่าของเสียในเลือด โดยผลที่ได้จะนำมาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate)
- การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ไตและทางเดินปัสสาวะ และในบางกรณีอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
ค่าการทำงานของไตหรือ GFR เป็นค่าที่บอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด โดยสามารถแบ่งโรคไตเรื้อรังออกได้เป็น 5 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ค่า GFR 90 หรือมากกว่า แต่เริ่มพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงไตเริ่มเสื่อม
- ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่ไตเสื่อมแล้ว
- ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 ค่า GFR ที่ลดลงปานกลาง
- ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 ค่า GFR ลดลงมาก
- ระยะที่ 5 ค่า GFR น้อยกว่า 15 เป็นระยะสุดท้ายหรือภาวะไตวาย
ดังนั้น ค่า GFR ยิ่งต่ำก็ยิ่งหมายถึงการที่ไตทำงานได้น้อยลงนั่นเอง
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยแล้วผ่านตัวกรองเพื่อกำจัดของเสีย ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่างเพื่อให้กลายเป็นเลือดดีก่อนที่เครื่องไตเทียมจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกาย ในการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยผู้ป่วยต้องเข้ารับการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือดเสียก่อน
- การล้างไตทางผนังช่องท้อง (Peritoneal dialysis) เป็นการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านทางสายยางที่ฝังไว้ในช่องท้องผู้ป่วยเพื่อกรองของเสียในร่างกายออก วิธีนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน ผู้ป่วยจึงมักทำที่บ้านและเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีข้อจำกัดที่ผู้ป่วยหลายรายไม่สะดวก และมีข้อควรระวังเรื่องความสะอาดที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
- การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) เป็นการผ่าตัดเอาไตของผู้อื่นมาใส่ไว้ในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนไตเดิมที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว โดยไตใหม่นั้นอาจได้มาจากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้บริจาคที่เป็นญาติยังมีชีวิตอยู่และมีไตเข้ากับผู้ป่วยได้
สำหรับผู้ป่วยโรคไต นอกจากการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังนี้
- อาหารที่มีโซเดียมและอาหารที่มีรสเค็มเช่นผงชูรส ผงปรุงรส และซอสต่าง ๆ
- อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักกาดดอง
- เนื้อสัตว์ปรุงรสหรืออาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน
- อาหารกระป๋อง เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง เป็นต้น เพราะอาหารพวกนี้จะใส่อาหารสารกันบูดและมีปริมาณโซเดียมสูงมาก
- อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงจากไขมันอิ่มตัวของพืชและสัตว์ เช่น กะทิ ไข่แดง หมูสามชั้น
- อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง รวมถึงของหวาน ขนมที่ใส่กะทิ
- เนื้อสัตว์ติดมัน